อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  1 ราย


07/02/2556
09/03/2566
2751683
163668


ความรู้เรื่องงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ --- ไม้จริง ไม้ไม่จริง หรือไม้หลอก อะไรที่บอกเรา...!!!


 ความรู้เรื่องงานเฟอร์นิเจอร์ไม้  --- ไม้จริง ไม้ไม่จริง หรือไม้หลอก อะไรที่บอกเรา...!!!

วัสดุที่ใช้

เฟอร์นิเจอร์ไม้ในยุคปัจจุบัน มีทั้งที่ใช้ไม้จริง ไม้อัด และไม้ไม่จริง มากมายหลากหลายจนสร้างความสับสน หากขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง

วัสดุที่ใช้มีผลกับคุณภาพของเฟอร์นิเจอร์ ต้นทุนของผู้ผลิต และราคาที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายมาก ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง 

ต้นทุนของวัตถุดิบก็จะขึ้นอยู่กับชนิดชองไม้ที่ใช้ ขนาด และความสวยงามของไม้ ไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ก็จะมี

ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้โอ๊ค ไม้แอช ไม้บีซ ราคาไม้นั้นจะแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและคุณภาพ รวมถึงต้นทุนการนำเข้าในบางประเภท

ขนาดไม้ที่ใช้ 


เรื่องของขนาดไม้ที่นำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์นั้น มีผลมากต่อราคาและความรู้สึกของผู้ซื้อ
  โต๊ะทานอาหารที่ใช้ไม้ทั้งแผ่นทำนั้น

ต้นทุนวัตถุดิบก็จะสูงกว่าโต๊ะทานอาหารที่ใช้ไม้ท่อนเล็กๆ มาเรียงจนเป็นแผ่นใหญ่ ความรู้สึก คุณค่าที่ได้ก็ต่างกัน 

ในทั้งสองกรณีนี้ หากโต๊ะมีรอยขีดข่วน เป็นรอยถลอก จนเนื้อไม้กะเทาะออกมา เราก็ยังเห็นเนื้อในเนื้อไม้เช่นเดิม นำไปขัด

แต่ง และซ่อมสีใหม่ก็กลับมาสวยเหมือนใหม่ ใช้งานได้เหมือนเดิม 

หรืออีกกรณีหนึ่ง ถ้าใช้ไม้ท่อนเล็กๆ มาเรียงต่อกันจนเต็มแผ่น แล้วปิดหน้าด้วยวีเนียร์ลายไม้อีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ดูเป็นไม้ชิ้นเดียวทั้งชิ้น 

ในระยะยาวถ้ามีรอยขูดขีด ถลอก หรือถูกกระแทกจนแผ่นวีเนียร์เป็นรอย ล่อนออกมา เราจะไม่สามารถขัด หรือทำสีได้

วิธีเดียวคือเปลี่ยนแผ่นวีเนียร์ใหม่ทั้งหมดเท่านั้น   

ถ้าใครอยากรู้ว่าโต๊ะที่เรากำลังดูอยู่นั้นใช้ไม้แผ่นเดียวกัน หรือใช้วีเนียร์มาปิดผิว ก็ให้ลองสังเกตที่ขอบโต๊ะว่ามีรอยขอบการปิดวีเนียร์หรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความสวยงามของหน้าไม้

เรื่องหน้าตาผิวพรรณไม้ก็มีผลมากต่อราคาของสินค้า  เพราะถ้าไม้ที่สีผิวสม่ำเสมอกัน อยู่ในโทนสีใกล้เคียงกัน ไม่มีรอย 

กระด่างกระดำ หรือสีเข้มจางไม่เท่ากัน ไม่มีตำหนิ มีตาไม้น้อย ไม่มีรอยแตกร้าว ทะลุ ผุ หรือบิ่นราคาก็จะสูงกว่าไม้ที่มีตำหนิต่างๆ

+++ แล้วเฟอร์นิเจอร์ที่มีลายไม้แต่ไม่ใช่ไม้จริง คืออะไร+++

นอกจากเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงทั้งชิ้นที่กล่าวไว้ด้านบน และเฟอร์นิเจอร์ไม้อัด (plywood) ที่เราไม่ได้พูดถึง ก็ยังมีเฟอร์นิเจอร์อีกกลุ่มหนึ่ง

ที่ผิวสวยสั่งได้ ไม่ว่าจะเป็น ลายไม้สัก ไม้โอ๊ค ไม้แอช ไม้มะฮอกกานี ก็สามารถทำได้ตามต้องการนั้น ข้างในมักทำจาก

MDF หรือ Particle Board ที่ปิดทับผิวด้วยวีเนียร์ลายไม้ลวดลายสวยงามต่างๆอีกที ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้

โครงด้านในมักจะทำจากไม้จริงเพื่อเสริมความแข็งแรง ส่วนตัวตู้ หน้าบาน จะเป็น

MDF หรือ Particle Board ปิดวีเนียร์ เฟอร์นิเจอร์กลุ่มนี้ หาดูได้ง่ายตามห้างขายเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ทั่วไปในบ้านเรา

Particle board ที่ใช้เศษไม้มาย่อยให้ละเอียดแล้วอัดกาวขึ้นรูปเป็นแผ่นนั้น ผิวของผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมาจะหยาบ

ต้องหากระดาษลายไม้มาปิดผิวเพื่อความสวยงาม ดูน่าสนใจ

MDF จะมีผิวที่ค่อนข้างละเอียดเนียนกว่า เพราะทำจากเส้นใยไม้นำมาผสมกาว แล้วอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น พ่นด้วยสีทำ hi-gloss

หรือปิดทับด้วยวีเนียร์อีกชั้นหนึ่ง

แต่ทั้งสองชนิดนี้ อาจเจอปัญหาเรื่องความชื้นหรืออาการบวม พอง เมื่อโดนน้ำได้ เมื่อใช้ไปนานๆ ตามมุมจะเริ่มล่อนเห็นเนื้อในไม้ 

ไม่อาจแก้คืนได้ ความแข็งแรง การรับน้ำหนักยังสู้ไม้จริงไม่ได้ ดังนั้นราคาของมันจึงถูกกว่าไม้จริงหลายเท่าตัว

+++ จะถูก จะแพง ก็เพราะดีไซน์ +++

ผู้ซื้อเองก็ยอมจ่ายเงินส่วนที่เพิ่มขึ้นถ้าพวกเขาชื่นชอบ และเห็นในคุณค่าของงานดีไซน์นั้น  แต่ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคนด้วย

ของที่มีดีไซน์สวยมักจะมีตันทุนของดีไซน์รวมอยู่ด้วย  เพราะถ้าสินค้ามีดีไซน์สวยๆ ถึงจะใช้วัตถุดิบหน้าตาดูธรรมดา

ของชิ้นนั้นก็อาจกลายเป็นของมีค่าขึ้นมาได้เหมือนกัน นี่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเฟอร์นิเจอร์นั้นได้ ว่ามองงานดีไซน์มีค่าแค่ไหน

  เฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์ที่ดี นอกจากจะต้องมีรูปลักษณ์ที่สวย ดูน่าสนใจแล้ว ควรคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอย และความคงทนด้วย

+++ คุณภาพการผลิต +++

ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเรา แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออก และกลุ่มที่ผลิตเพื่อขายภายในประเทศ 

ถ้าถามว่า คุณภาพการผลิตต่างกันตรงไหน  ก็คงจะเป็นที่รู้กันว่าสินค้าที่จะผ่านการส่งออกได้นั้น จะต้องผ่านมาตรฐานการตรวจคุณภาพในด้านต่างๆ

หลายอย่าง เพราะตลาดต่างประเทศเป็นตลาดที่เข้มงวดในเรื่องของมาตรฐานสินค้า มาตรฐานความปลอดภัย และการรับประกันต่างๆ

ตั้งแต่การใช้งาน อายุการใช้งาน จนถึงเรื่องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการเคลมคืนสินค้ากันได้ง่ายๆและบ่อยขึ้น

ผู้ผลิตที่เน้นตลาดส่งออกจึงควรมีมาตรฐานการผลิตที่ค่อนข้างสูงมารองรับ ซึ่งกฎเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ ก็มีผลกับต้นทุนของเฟอร์นิเจอร์มากเช่นกัน 

ลองมาดูกันว่า อะไรบ้างในเรื่องการผลิตที่อาจจะแตกต่างกัน

การอบไม้

ไม้ที่อบแห้งมาจนได้ที่แล้วก็ยังมีโอกาสที่จะยืด หด ได้อีก เพียงแต่จะยืด หด น้อยกว่าไม้ที่อบแห้งไม่ได้อบแห้งเลย  ซึ่งกลุ่มหลังนี้

นำใช้งานได้ไม่นานก็จะฟ้องความไม่ได้คุณภาพของผู้ผลิตออกมา เพราะอาจเกิดอาการยืด หด บวมหรือแตกลาย ให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ปัญหาเรื่องไม้ที่ได้รับการอบไม่ได้มาตรฐาน จะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด  แต่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ใช้งานไปแล้วสักระยะเวลาหนึ่งอาจจะหกเดือน

หรือหนึ่งปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง

เทคนิคยึดโครงเฟอร์นิเจอร์

โครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เดือยเหลาเป็นแกนยื่นออกมาจากไม้ แล้วประกบเข้ากับไม้อีกชิ้นหนึ่งที่เจาะเป็นช่องพอดีกับเดือยนั้น

จะแข็งแรงเพราะเดือยและตัวไม้ยึดติดเป็นชิ้นเดียวกัน แต่ก็ต้องเพิ่มความยาวไม้ที่ใช้เผื่อส่วนที่จะเหลาเป็นเดือยด้วย ตัวอย่างเช่น

ถ้าตัวโต๊ะมีขนาดความยาว 20 นิ้ว ตัวเดือยควรมีความยาว 4 นิ้ว และไม้ที่ใช้ก็ต้องมีความยาว 24 นิ้ว

ในบางกรณีที่เฟอร์นิเจอร์ไม่ต้องการความแข็งแรงขนาดนั้น ผู้ผลิตอาจจะใช้ไม้ที่มีความยาว 20 นิ้ว และใช้เศษไม้ชนิดเดียวกันทำเดือยขึ้นมา

 หรือบางกรณี ผู้ผลิตอาจจะใช้ไม้ชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าเช่น ไม้ยาง มาเหลาเป็นแท่งเสียบเพื่อยึดไม้แล้วอัดกาวแทน 

ในกรณีของเฟอร์นิเจอร์ Outdoor ที่ต้องตากแดด ตากฝน โดนความชื้นบ่อยๆ การใช้เดือยไม้ยางอัดกาว

 กาวที่ใช้อาจจะเสื่อมคุณภาพเร็ว และเดือยไม้ยางอาจจะผุ และหลุดออก ทำให้อายุการใช้งานเฟอร์นิเจอร์สั้นลง

 
  Description: http://community.akanek.com/sites/default/files/images/img028%283%29.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนพวกเฟอร์นิเจอร์เกรดล่างๆ โดยเฉพาะพวกโซฟาหรือเฟอร์นิเจอร์หุ้มเบาะ หุ้มผ้าที่ขายตามตลาดบ้านเรานั้น

ส่วนใหญ่มักจะใช้ปืนลมยิงตะปูลวดเพื่อยึดโครงสร้างเอาไว้เท่านั้น  ซึ่งถ้าลวดเหล่านั้นขาด หรือเสื่อมสภาพ โครงเฟอร์นิเจอร์ก็ไม่สามารถอยู่ไม่ได้

จนอาจล้มพับลงมาทั้งหมด แต่ผู้ซื้อจะไม่เห็นในส่วนนี้เลย เพราะทุกอย่างถูกซ่อนอยู่ข้างด้านในเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดจะมีก็แต่ผู้ผลิตเท่านั้นที่รู้

แม้จะบอกเราได้ว่าโครงเฟอร์นิเจอร์ทำมาจากไม้อะไร  แต่จะบอกอย่างตรงไปตรงมาไหม ว่าใช้อะไรยึดโครงสร้างภายในเหล่านั้นเอาไว้ (ถ้าเราไม่ถามเอง)

เรื่องวัสดุและดีไซน์ ยังเป็นอะไรที่เราตรวจสอบ สัมผัส จับต้องด้วยตัวเองได้  แต่เรื่องคุณภาพการผลิต เป็นงานเบื้องหลังที่ ผู้ซื้อตรวจดูได้ยากที่สุด

เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นและสิ้นสุดภายในโรงงาน คุณภาพการผลิตซ่อนอยู่ภายในเฟอร์นิเจอร์ ไม่มีใครรู้นอกจากผู้ผลิต

ผู้ซื้ออย่างเราจะไปรู้อีกทีก็ตอนใช้งานผ่านไปแล้วสัก 5-10 ปี มีก็แต่ชื่อเสียง มาตรฐานการควบคุมคุณภาพสินค้าที่สั่งสมมายาวนานเท่านั้น

ที่พอจะการันตีคุณภาพสินค้าให้เราได้อุ่นใจได้บางตอนจ่ายเงิน

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ  อ่านมาจนจบแล้วพอจะตัดสินใจกันได้หรือยังเอ่ยว่า ควรจะซื้อโต๊ะที่ปิ๊งเอาไว้หรือเปล่า?

เดี๋ยวนี้โรงงานโดยเฉพาะโรงงานจากเมืองจีนก็มีเทคโนโลยีการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ดี ทันสมัย เพราะฟีลของเฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นที่ต้องการของลูกค้า

ในขณะที่ไม้จริงก็มีราคาแพง จะทำอย่างไรที่จะให้ได้เฟอร์นิเจอร์ฟีลไม้ในราคาเมืองจีน  

ก็ไปเห็นตัวอย่างมาหนึ่งตัว  เป็นโต๊ะทานข้าวไม้ที่เหมือนไม้  แต่แปลกใจว่าทำไมตาไม้ถึงเหมือนกันหมด

 คนขายก็อธิบายให้ฟังว่าเค๊าใช้ไม้โอ๊คแผ่นแล้วฝานให้เป็นแผ่นบางๆ ประมาณ 2 มิล แล้วก็ลงไปบนหน้าไม้ที่เป็นโครง

(จะเป็นไม้จริงอย่างที่เขาว่าหรือเปล่าเราก็ไม่รู้ เพราะอยู่ด้านใน) ที่บอกว่าลายไม้ไม่สวย โต๊ะตัวนี้ราคาร่วมสามหมื่น

แพงมั๊ย แพง เพราะในราคานี้ เราสามารถซื้อโต๊ะไม้จริงจากผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ดีๆ ในเมืองไทยได้เลย

เอาเป็นว่าก่อนจะซื้อโต๊ะไม้สักหนึ่งตัว  อย่าด่วนตัดสินใจ  ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไทยดีๆ ยังมีอีกเยอะ  ในราคาที่คุ้มคุณค่า

 

เครดิต สรุปย่อ อ้างอิงจาก บทความ Description: http://community.akanek.com/sites/default/files/styles/pro84x84/public/pictures/picture-25-1344408619.pngAKANEK สัมภาษณ์ คุณจิรชัย คุณตั้งกิจงามวงศ์ บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด